4072319 อาชีวอนามัย

Responsive image

4072319 อาชีวอนามัย

คำอธิบายรายวิชา
ความหมายและความสำคัญของวิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (Occupational Health) โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อุบัติภัย/การบาดเจ็บ (Accidents/Occupational Traumatic Injuries) อันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ สภาวะสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและกสิกรรมพิษวิทยาและการยศาสตร์ (Toxicology and ergonomics) การสุขาภิบาลในโรงงาน หลักและวิธีประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม และการจัดการอาชีวอนามัยในชุมชน

จำนวนการเข้าชม
8231 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
192 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 5.00 จากทั้งหมด 55 คะแนน

บทที่ 1 งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

งานอาชีวอนามัย คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพ
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 โรคจากการประกอบอาชีพและการป้องกัน

โรคจากการประกอบอาชีพ หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากการทำงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยอาการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน หลังเลิกงาน หรือภายหลังที่ออกจากงานไปแล้ว
วิดีโอการสอน


บทที่ 3 อันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม แบ่งออกได้ คือ 1. การเจ็บป่วยและ/หรือการเกิดโรคต่างๆ และ 2 การบาดเจ็บและ/หรือพิการจากอุบัติเหตุ
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 อันตรายจากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับความกดดันบรรยากาศที่ผิดปก และ แสงสว่าง

ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ (Abnormal Pressure) หมายถึง ความดันบรรยากาศที่ไม่ปกติ คือ ต่ำเกินกว่าที่ระดับน้ำทะเลปกติที่ 760 มิลลิเมตรของปรอท ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้ปฎิบัติในสภาวะเช่นนี้ เกินการบาดเจ็บและได้รับอันตรายได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 อันตรายจากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับเสียงดัง

เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ส่งผ่านตัวกลาง (ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) ผ่านเข้าสู่หูของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการได้ยิน หากมีการสัมผัสเสียงที่ดังกว่าค่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนด อาจจะเกิดการสูญเสียการได้ยินได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 อันตรายจากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับความร้อน และ ความเย็น

ความร้อน คือ พลังงานรูปหนึ่งอยู่ที่เกิดจากการเคลื่อนไหว หรือสั่นสะเทือนของโมเลกุลของวัตถุ หากมีการในที่ซึ่งมีอุณภูมิสูงมากกว่าค่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนด อาจจะเกิดการเจ็บป่วยและอันตรายต่อร่างกายได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 7 การบริการงานอาชีวเวชศาสตร์นอกโรงพยาบาล

งานอาชีวเวชศาสตร์ เป็นภาระกิจหนึ่งของนักอาชีวอนามัย และทีมแพทย์ พยายาบล รวมทั้งแพทย์อาชีวเวชศาตร์ ภาระกิจหลักๆคือการช่วยเหลือดูแลให้ผู้ปฎิบัติงานในสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ปราศจากโรคจากการทำงานและมีสุขภาพที่ดี
วิดีโอการสอน


บทที่ 8 ความเครียดจากการประกอบอาชีพ

ความเครียด (Stress) คือการบีบคั้น กดดัน ขบวนการที่เกิดขึ้นในร่างกายที่ทำให้คนมีการปรับตัวกับอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง การเรียกร้องความต้องการ การบีบคั้นกดดันต่าง ๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสังคม หากผู้ปฎิบัติงาน มีความเครียด จะส่งผลทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุในขณะปฎิบัติงานได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 9 การยศาสตร์

การยศาสตร์ หมายถึง “ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน” หรือ “การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงาน” ดังนั้นหากผู้ปฏิบัติงาน ทำงานในสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือความเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานได้
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : การยศาสตร์


บทที่ 10 การฝึกปฎิบัติ การตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกลุ่มเกษตรกร

ขอขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลที่เป็นไฟล์ PTT จากการบรรยายของ ดร.วีระพล วงษ์ประพันธ์. งานอาชีวอนามัยและควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม เป็นอย่างสูง
วิดีโอการสอน


บทที่ 11 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Devices (PPD) หรือ Personal Protective Equipment (PPE) หมายถึง อุปกรณ์สาหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทางานเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้น เนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงาน มีหลายชนิด ซึ่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการทำงาน
วิดีโอการสอน


บทที่ 12 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

ปัญหาการประสบอันตราย และความสูญเสียที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น การคุ้มครองแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่สามารถกำหนดกลไก และ มาตรการบริหารงานความปลอดภัยฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการอออกพรบ นี้จึงได้ วางมาตรการการควบคุม กำกับ ดูแล บริหารจัดการความปลอดภัยฯ อย่างเหมาะสม
วิดีโอการสอน


บทที่ 13 อันตรายจากการประกอบอาชีพที่สัมผัสกับสารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช (6 ชัวโมง)

สารเคมีปราบศรัตรูพืชที่ใช้กัน มีหลายประเภท ล้วนแต่มีอันตรายก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก จึงต้องใช้ให้ให้ถูกวิธี ในบทนี้มีเนื้อหามาก จะใช้เวลาสอน 2 สัปดาห์ คือ 6 ชัวโมง
วิดีโอการสอน


บทที่ 14 หลักการเดินสำรวจโรงงาน

การเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey) หมายถึงการที่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน (factory staff) หรือบุคคลจากภายนอก (visitor) เข้าไปเยี่ยมสำรวจภายในพื้นที่การผลิตของโรงงาน หรือกล่าวอย่างจำเพาะเจาะจงขึ้น คำว่า การเดินสำรวจโรงงาน (walkthrough survey) นั้นหมายถึงการเดินอย่างละเอียดถี่ถ้วนพอสมควร ในบทนี้ จะเป็นการบรรยาย พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติ การเดินสำรวจสภาพแวดล้อม ของจุดตางๆ ภายในมหาวิทยาลัย
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : หลักการเดินสำรวจโรงงาน