4103708 อนามัยสิ่งแวดล้อม

Responsive image

4103708 อนามัยสิ่งแวดล้อม

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานทางอนามัยสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลน้ำดื่ม น้ำใช้ การสุขาภิบาลอาหาร การบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล การบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย การควบคุมและป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนาโรค การจัดการและควบคุมมลพิษทางอากาศ การควบคุมเหตุรำคาญ การจัดการ และวางแผนอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนและท้องถิ่น

จำนวนการเข้าชม
23101 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
1361 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.90 จากทั้งหมด 142 คะแนน

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

สุขภาพของมนุษย์เรานั้น ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ดังนั้นการศึกษาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาว่าสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างไรต่อสุขภาพของคนเรานั่นเอง หรือจะกล่าวได้ว่า สุขภาพอนามัยของเราจะดีไม่ดีอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวนั่นเอง ในเชิงของวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำ จะเน้นการศึกษาไปที่คุณภาพของน้ำ ซึ่งหากน้ำเน่าเสียจะส่งผลกระทบทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตในน้ำ ขาดอากาศหายใจ เป็นโรคหรื่อได้รับสารพิษและตายลงในที่สุดแต่ถ้าหากพูดในแง่อนามัยสิ่งแวดล้อม นั้นเป็นการศึกษาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อสุขภาพของคนเราเมื่อจับปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษนั้น ๆ มาบริเโภค มากกว่า กล่าวโดยสรุปนอนามัยสิ่งแวดล้อมจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สุขภาพสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ ยังเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดทิศทางสุขภาพของมนุษย์ว่าจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขหรือเจ็บป่วยได้อีกด้วย
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 น้ำสะอาด

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ทั้งของคน สัตว์ และพืช อย่างไรก็ตามแม้ว่าน้ำจะเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญมากที่มนุษย์ต้องพึ่งพา ซึ่งถ้าหากน้ำนั้นสกปรกมีเชื้อโรคหรือมีสารพิษเจือปนอยู่ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ยาฆ่าแมลง สารปรอท สารหนู ฯลฯ เมื่อมนุษย์ดื่มบริโภคเข้าไปแล้วก็จะทำให้ร่างกายเกิดโรคระบาด ล้มป่วยเป็นจำนวนมาก ได้เหมือนกัน การจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดและถูกหลักสุขาภิบาลยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย ทั้งในชุมชนเขตเมืองและในท้องที่ชนบทที่อยู่ห่างไกล การพัฒนาทางด้านวิศวกรรมสุขาภิบาลจำเป็นจะต้องดำเนินการควบคู่กับความเจริญของบ้านเมือง
วิดีโอการสอน


บทที่ 3 การจัดการน้ำสะอาดและการบำรุงรักษา

ในการผลิตน้ำให้สะอาดเพื่อใช้อุปโภคบริโภคนั้น วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการนำน้ำมาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรุงอาหาร ชำระล้างร่างกาย หรือประโยชน์ในด้านอื่นเพื่อการดำรงชีวิตก็ตาม ดังนั้นการผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงหมายถึงการผลิตน้ำที่ปราศจากตัวกลางที่ทำให้เกิดโรค
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 การสุขาภิบาลที่พักอาศัย

บ้านพักอาศัยเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในบรรดาปัจจัยสี่ของมนุษย์ บ้านผิดสุขลักษณะผลเสียต่อร่างกายจิตใจและสมรรถภาพของบุคคลภายในบ้านได้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์กรการอนามัยโลกได้ประชุมพิจารณาและวางกฎระเบียบเรื่องที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสาธารณสุข เช่น เกี่ยวกับการระบายอากาศ เสียง แสงสว่าง การควบคุมอากาศสกปรก น้ำดื่ม-น้ำใช้ การกำจัดน้ำโสโครกและการเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย และการวางผังเมืองเพื่อให้อยู่อาศัยมีความสุขสบาย รวมทั้งมีความเป็นอิสระในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวด้วย จึงจะเหมาะสมกับคำว่า “บ้านคือวิมานของเรา”
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 การกำจัดสิ่งปฎิกูลและการจัดการที่เหมาะสม

มนุษย์และสัตว์จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยร่างกายจะทำหน้าที่ดูดซึมเฉพาะส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหาร เกลือแร่ และวิตามินต่าง ๆ เข้าไปตามกระแสโลหิต ส่วนที่เหลือคือกากอาหารและส่วนต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งจะถูกขับออกมาในรูปของอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น สิ่งที่ขับออกเหล่านี้มักจะมีเชื้อโรคออกมาด้วย เชื้อโรคบางชนิดที่ถูกขับออกมามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับผู้เป็นพาหะของโรคที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด ท้องร่วง ฯลฯ ดังนั้น การป้องกันโรคดังกล่าวจำเป็นจะต้องเก็บกัก หรือจำกัดสิ่งที่ขับถ่ายที่ออกมาจากมนุษย์ให้ถูกต้อง
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 การจัดการมูลฝอย

ปัจจุบัน วิทยาการก้าวหน้า ประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว อัตราการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศษสิ่งเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาของขยะมูลฝอย ขยะหรือมูลฝอย หรือของเสีย เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ มีผลต่อสุขภาพอนามัย มูลฝอยหรือของเสียกำลังมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะสาเหตุจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไข
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : บทที่ 6 การจัดการขยะมูลฝอย


บทที่ 7 สุขาภิบาลอาหาร

ส่วนผสมในอาหารบางชนิด เช่น วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส รวมทั้งจุลินทรีย์ และสารพิษต่าง ๆ ที่อยู่ในวัตถุดิบ ภาชนะอุปกรณ์ ผู้สัมผัสอาหาร สัตว์นำโรค หรือสภาพแวดล้อม อาจปนเปื้อนในอาหารได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การขนส่ง การเตรียม การปรุง การเก็บรักษา และการจำหน่ายอาหาร เมื่อเรากินอาหารที่มีการปนเปื้อนเข้าไป เชื้อโรค พยาธิ และสารเคมีในอาหารก็อาจเป็นโทษต่อร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคเกิดการเจ็บป่วยและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการในเรื่องสุขาภิบาลอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมให้อาหารมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยต่อการบริโภค
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : บทที่ 7 การสุขาภิบาลอาหาร


บทที่ 8 การควบคุมแมลงและพาหะนำโรค

แมลงหรือสัตว์ที่ทำให้คนได้รับเชื้อโรคโดยการเจาะที่ผิวหนังแล้วปล่อยเชื้อโรคเข้าไป อาจจะโดยการกัด หรือต่อย ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือรำคาญ แมลงมีหลายชนิดที่เป็นพานะนำเชื้อโรคมาสู่คน โดยที่เชื้อโรคต้องเจริญเติบโตในตัวแมลงก่อน เช่น ยุงนำเชื้อไข้มาเลเรีย ไข้เลือดออก และโรคเท้าช้าง ฯลฯ มีแมลงอีกหลายชนิดที่เป็นเพียงพานะนำโรค โดยที่เป็นเพียงตัวพาเชื้อโรคจากแหล่งของโรคกระจายไปตามที่ต่าง ๆ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ นำเชื้อไข้ไทฟอยด์และอหิวาตกโรค เป็นต้น โดยที่เชื้อโรคจะติดมากับปีกหรือแข้งขาของแมลง เมื่อแมลงเหล่านี้ได้ไปตอมอาหารจะทำให้อาหารสกปรกได้ นอกจากนั้นยังมีหนูซึ่งนอกจากทำลายข้าวของ พืช ผักชนิดต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นพานะนำเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) และนำเชื้อกาฬโรคมาสู่คนได้ด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องทำการควบคุมอาหารและสัตว์นำโรคเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือกำจัดให้หมดไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชน
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : บทที่ 8 การควบคุมแมลง


บทที่ 9 น้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต และยังเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติน้ำสามารถหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา ทรัพยากรน้ำ มีประโยชน์มากมาย อย่างไรก็ตามธรรมชาติแหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อม ๆ กันเมื่อ จุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอนทําให์ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก จนเกิดการขาดแคลนได้ นอกจากนี้การเน่าเสียอาจเกิดได้อีกประการหนึ่งคือ เมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท
วิดีโอการสอน


บทที่ 10 มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศหมายถึง สภาพอากาศที่มีสสาร ที่ความเข้มข้นสูงกว่าปกติและแขวนลอยในบรรยากาศ นานพอที่จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อสุขภาพอนามัยของคนและสัตว์พืชหรือวัสดุต่างๆ สารในที่นี้หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบซึ่งอาจเกิดตามธรรมชาติหรือจากการกระทำของคน สารพวกนี้ลอยปะปนอยู่ในรูปก๊าซ หยดของเหลวหรืออนุาคของแข็ง หรือกล่าอีกนัยหนึ่ง มลพิษทางอากาศคือ มลภาวะอากาศหรือมลพิษทางอากาศ (Air pollution) หรืออากาศเสีย หมายถึง สภาวะที่มีสิ่งเจือปนอยู่ในอากาศ เป็นปริมาณมากจนถึงระดับที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน ตลอดจนสัตว์และพืชทั่วไป สิ่งเจือปนอยู่ในอากาศมีอยู่หลายประเภท เช่น ก๊าซบางชนิด ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน เขม่า และกัมมันตภาพรังสี เช่น ออกไซด์ของคาร์บอนออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรคาร์บอน สารปรอท ตะกั่ว ละอองกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้หากมีเจือปนอยู่ในอากาศมากเกิน อันตรายก็จะเกิดเป็นมลพิษทงอากาศ
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : บทที่ 10 มลพิษทางอากาศ


บทที่ 11 แนวทางจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะภัยพิบัติ

ภัยพิบัติโดยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ขัดขวางทำลาย การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่แพ้ ภัยก่อการร้าย (terrorism) และภัยมลพิษต่างๆ การจัดการภัยพิบัติต่างๆแต่เดิมมักทำแต่เรื่องการแก้ไข ให้ความช่วยเหลือผู้ประสพภัย หรือการเร่งตอบสนอง(emergency response) เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆผสมมาด้วย เช่น การช่วยเหลือขาดประสิทธิภาพ ของที่ให้มาช่วยขาดคุณภาพก่อปัญหาใหม่ใหญ่หลวงได้ ดังนั้นแนวคิดใหม่ในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ จึงต้องการให้จัดตามแนวคิดแก้และป้องกันปัญหาด้วยกันในลักษณะเป็นการบูรณาการองค์ประกอบปัจจัยแห่งการช่วยเหลือให้เป็นองค์รวมร่วมมือกับแท้จริงมากขึ้น มีการวางแผนรองรับแต่ก่อนเกิดภัย (pre-disaster planning) ที่มา: ผศ. ชลาศัย ห่วงประเสริฐ
วิดีโอการสอน