6562211 การออกแบบวงจรดิจิทัล

Responsive image

6562211 การออกแบบวงจรดิจิทัล

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับระบบจำนวน เลขรหัส ลอจิเกต ฟลิบฟลอบ การลดรูปสมการด้วยพีชคณิตบลูลีน และแผนภาพคาร์นอจห์ การออกแบวงจรคอมบิเนชันและซีเควนเชียลเทคนิคและวิธีการออกแบบที่ใช้อุปกรณ์ที่สามารถโปรแกรมได้

จำนวนการเข้าชม
5011 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
111 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 5.00 จากทั้งหมด 40 คะแนน

บทที่ 1 ระบบเลขฐานและรหัส

บทนี้กล่าวถึงระบบเลขฐานที่สำคัญในระบบดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ได้แก่ ระบบเลขฐานสอง ฐานแปด ฐานสิบหก การแปลงเลขฐานจากฐานสิบเป็นฐานใดๆ และการแปลงเลขจากฐานใดๆเป็นฐานสิบ เทคนิคการบวกเลขในฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบหก ส่วนเติมเต็มที่ 1 และส่วนเติมเต็มที่ 2 การประยุกต์ใช้งานระบบเลขฐานสองในการแทนจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ รหัส ASCII และรหัส BCD
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบการสอน1


บทที่ 2 ลอจิกเกต

บทนี้กล่าวถึงการดำเนินการเชิงตรรกะกับระบบเลขฐานสอง ได้แก่ ตัวดำเนินการ NOT/ AND/ OR/ XOR/ NAND/ NOR/ XNOR/ ส่งผลให้นำไปอธิบายการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในระดับบิต นิบเบิ้ล ไบต์ และเวิร์ด โดยระบบคอมพิวเตอร์นำเลขฐานสองมาระบุปริมาณข้อมูลเช่น (0 หรือ 1)/ (เท็จหรือจริง)/ (0โวลต์หรือ 1โวลต์)/ (การดับหรือการติดของหลอดไฟ)/ และจากความเข้าใจในการดำเนินการเชิงตรรกะ พื้นฐานจะนำไปสู่การดำเนินการเชิงผสมที่ซับซ้อนขึ้นต่อไป
วิดีโอการสอน


บทที่ 3 พีชคณิตบลูลีน

บทนี้ ศึกษาเกี่ยวกับกฏ หลักเกณฑ์ และทฤษฎีบลูลีน โดยเริ่มจากการบวกเชิงบลูลีน การคูณเชิงบลูลีน กฏของพีชคณิตบลูลีน เช่น กฏการกระจาย กฏการสลับที่ กฏการเปลี่ยนหมู่ ทฤษฎีเดอ มอร์แกน การลดรูปสมการโดยใช้กฏและหลักเกณฑ์ รูปแบบมาตรฐานนิพจน์บลูลีน ความสัมพันธ์ระหว่างสมการบลูลีนกับตารางความจริง
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบการสอน3


บทที่ 4 ผังคาร์นอจห์

บทนี้ศึกษาเกี่ยวกับผังคาร์นอจห์ ซึ่งเป็นผังที่ใช้ลดรูปสมการบลูลีนที่มีความซับซ้อน ให้มีนิพจน์ลดลงแต่มีสมรรถนะคงเดิม โดยส่งผลให้การสร้างวงจรเทียบเท่าง่ายขึ้น ลดอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบการสอน4


บทที่ 5 ฟลิบฟลอบ

บทที่ 5 นี้ ผู้เรียนจะศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อว่า ฟลิบฟลอบ(Flip Flop) ซึ่งเป็นวงจรรวม(Integrated Circuit) เป็นอุปกรณ์ที่มีขาเอาต์พุต 2 ขา แต่ละขามีคุณลักษณะเป็นนิเสธต่อกันโดยที่สถานะปัจจุบัน Q(t+1) ของเเอาต์พุตขึ้นกับสถานะก่อนหน้า Q(t) ฟลิบฟลอบถูกนำมานำมาพัฒนาเป็นหน่วยความจำหน่วยพื้นฐานที่เรียกว่า บิต(bit)
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบการสอน5


บทที่ 6 อุปกรณ์ที่สามารถโปรแกรมได้

บทนี้แนะนำเกี่ยวกับตัวอย่างไอซีดิจิทัลที่นิยมใช้ในงานดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น 7447/ 74138/ 74139/ 74HC85/ รวมถึงวิธีการออกแบบวงจรที่สามารถโปรแกรมได้ อุปกรณ์ที่ใช้พัฒนาชิปที่โปรแกรมได้และกรณีศึกษาของ PAL array
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบการสอน6