9923101 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

Responsive image

9923101 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ความสำคัญของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ จุดมุ่งหมายของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประเภทของการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่างๆ ประเภทของการเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายภายในและภายนอกหน่วยงาน การเขียนข่าวแจก ภาพข่าวแจก บทความ สารคดี การเขียนในเอกสารและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กระบวนการและองค์ประกอบของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

จำนวนการเข้าชม
9830 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
284 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.71 จากทั้งหมด 132 คะแนน

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์มีความแตกต่างจากลักษณะของการเขียนทั่วไป โดย การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์อันดี เพื่อให้ได้รับความนิยม ความเชื่อถือ ศรัทธา ความร่วมมือ และการสนับสนุนจากกลุ่มคนเป้าหมาย อันจะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรดำเนินงานไปได้ด้วยดี มีความราบรื่น จนสามารถประสบความสำเร็จ
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 หลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเป็นกิจกรรมหลักที่นักประชาสัมพันธ์ทุกคนควรมีทักษะ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการผลิตสารสำหรับสื่อทุกประเภทที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อการถ่ายทอดความรู้สึก ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ ข่าวสาร โดยใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีแนวคิดหลักเกี่ยวกับงานเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ ประเด็นอะไรที่ต้องการนำเสนอ และประเด็นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ ใคร จุดอ่อน จุดแข็งของเรื่องคืออะไร แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่าง และเขียนให้เข้าใจง่าย ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อนึ่งแนวคิดหลักนี้เพื่อนำเอาสิ่งที่มีอยู่ มาทำให้อยู่ในรูปของงานเขียนที่ประสบความสำเร็จ
วิดีโอการสอน


บทที่ 3 การเขียนข่าวแจกและภาพข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์

การเขียนข่าวแจกและภาพข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ นับเป็นภารกิจสำคัญของการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงาน ที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญที่สามารถมองประเด็นข่าวได้อย่างชัดเจน สามารถแตกประเด็นข่าวให้สอดคล้องกับการพิจารณาของสื่อมวลชนในแต่ละแขนง เพื่อให้สามารถเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ได้หลากหลายช่องทาง เพราะต้องยอมรับว่าข่าวและภาพข่าวที่ส่งไปนั้นไม่ใช่ว่าจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เสมอไป จึงจำเป็นที่นักประชาสัมพันธ์ต้องศึกษาวิธีการเขียนข่าวที่ดีทั้งในส่วนของโครงสร้าง และรูปแบบของการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์นอกจากทำการเสนอข่าวสารแล้ว ยังมีความสำคัญในด้านการเผยแพร่ความรู้ ความจริง ข้อคิดเห็นเพื่อสร้างความศรัทธาไปสู่ประชาชน โดยสามารถให้รายละเอียดได้ลึกซึ้งมากกว่าข่าวแจก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการนำเสนอเหมือนข่าว สามารถแต่งแต้มอารมณ์ด้วยลีลาการเขียนได้ สามารถสอดแทรกความคิดของผู้เขียนได้ เป็นการนำเสนอความคิดเห็นและทัศนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านโดยทั่ว ๆ ไป
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 การเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นงานเขียนรูปแบบหนึ่งที่สามารถให้ความรู้สาระ และความเพลิดเพลินในการอ่านพร้อม ๆ กันไป จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้สารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์สามารถเผยแพร่ได้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ หากแต่ในบทนี้จะนำเสนอการเขียนสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 การเขียนบทรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์

วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีข้อได้เปรียบกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น ๆ หลายประการ อาทิ สามารถเสนอข่าวได้รวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ มีราคาที่ถูกกว่าวิทยุโทรทัศน์ สามารถออกอากาศเสนอข่าวได้ทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น สามารถใช้ได้บ่อยครั้งในการส่งสารถึงผู้ฟังวิทยุ ในแง่การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้น บางครั้งนักประชาสัมพันธ์อาจต้องรับหน้าที่ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงาน นักประชาสัมพันธ์จึงควรที่จะต้องรู้จักสื่อวิทยุและสถานีวิทยุในระบบต่าง ๆ อย่างพอสมควร เพื่อผลในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ และใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ที่มีแต่ความรวดเร็วและไร้พรมแดน
วิดีโอการสอน


บทที่ 7 การเขียนบทรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์

ปัจจุบันวงการวิทยุโทรทัศน์ได้มีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งแง่ของเทคโนโลยีการผลิต และรูปแบบการจัดรายการ โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยิ่งมีความตื่นตัวมากเป็นพิเศษ เมื่อมีการเปลี่ยนระบบจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล ที่เรียกว่า วิทยุ-โทรทัศน์ดิจิทัล (digital broadcasting) คือการส่งผ่านภาพ และเสียงโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูง ภาพ และเสียงคมชัด สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ทำให้ได้คุณภาพของภาพ และเสียงคมชัดมากขึ้น
วิดีโอการสอน


บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนในเอกสารและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อมวลชนที่ได้กล่าวไปแล้ว อาทิ การเขียนข่าวแจก ภาพข่าวแจก บทความ สารคดี ยังมีการเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์ ที่จะกล่าวถึงในบทนี้ คือ การเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ
วิดีโอการสอน


บทที่ 9 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่

การทำงานประชาสัมพันธ์ในกระแสโลกยุคใหม่นั้น ต้องดำเนินการให้สอดคล้องเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในวงการสื่อได้นิยามคำว่าสื่อใหม่ (new media) ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารข่าวสารข้อมูล เพื่อใช้ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรได้ โดยสื่อใหม่มีจุดเด่น คือ ช่วยลดต้นทุน มีเทคนิคการนำเสนอที่ดี อาทิ รูปภาพ วีดีโอ คำคม หรืออินโฟกราฟิกที่มีความน่าสนใจ สื่อสารได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย วัดผลได้ ประชาชนมีส่วนร่วม และสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดทั้งพื้นที่ และเวลา
วิดีโอการสอน