3602801 ระบบฐานข้อมูล

Responsive image

3602801 ระบบฐานข้อมูล

คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล โครงสร้างการเก็บข้อมูล ตัวแบบของข้อมูลแบบสัมพันธ์ ฐานข้อมูลแบบลดหลั่นกันตามลำดับ และฐานข้อมูลแบบเครือข่าย การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การปรับข้อมูลเข้าบรรทัดฐาน ภาษาที่ใช้จัดการฐานข้อมูลและการใช้งาน ความมั่นคง ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือได้ของระบบจัดการฐานข้อมูล

จำนวนการเข้าชม
8547 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
227 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.73 จากทั้งหมด 142 คะแนน

บทที่ 1 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมปัจจุบัน ดังที่เห็นจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า การจองที่พักตามโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบิน การทำธุรกรรมทางการเงิน แม้แต่การสื่อสารผ่านทางสังคมออนไลน์ต้องมีการเก็บข้อมูลในแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงทุกวินาทีที่ต่างจากการเก็บข้อมูลสมัยก่อนการเก็บข้อมูลจะต้องใช้เอกสารหรือแฟ้มข้อมูลในการบันทึกข้อมูลในแต่ละกิจกรรมที่มีปริมาณมากในแต่ละวัน ซึ่งทำให้ข้อมูลที่ได้เกิดความผิดพลาด ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ทันสมัย รวมทั้งไม่สามารถนำไปประมวลผลเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมากได้รวมทั้งประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วแม่นยำ จึงนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และปริมาณมหาศาลเป็นระบบฐานข้อมูล
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 รูปแบบของฐานข้อมูล

ปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : บทที่ 2 รูปแบบของฐานข้อมูล


บทที่ 3 สถาปัตยกรรมของฐานข้อมูล

ในปัจจุบันองค์กรหรือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่นิยมใช้ระบบฐานข้อมูลมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการธุรกิจของตน ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบระบบฐานข้อมูลที่สามารถใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงโครงสร้างของระบบฐานข้อมูลที่ต้องการออกแบบมีโครงสร้างอย่างไรและต้องเก็บข้อมูลอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับข้อมูลและสารสนเทศที่จะจัดเก็บลงในระบบฐานข้อมูล
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ข้อมูลจะเก็บในรูปของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน ภายในแฟ้มข้อมูลหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยชื่อแฟ้มข้อมูลหรือเอนทิตี้ (entity) และข้อมูลย่อยหรือแอททริบิวท์ (attribute) ที่รวมกันเป็นข้อมูลแต่ละรายการ โดยแอททริบิวท์ต่างๆ จะมีขอบเขตที่สามารถเป็นไปได้ที่เรียกว่า โดเมน (domain)
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล E-R Model

ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้นั้น ต้องอาศัยการพัฒนาฐานข้อมูลที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยในบทนี้จะศึกษาถึงขั้นตอนการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งเน้นขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลเป็นหลัก ตั้งแต่การพัฒนาแบบจำลองอี-อาร์ และการทำนอร์มัลไลเซซัน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด แบบจำลองความสัมพันธ์เอนทิตี้ (Entity-Relationship Model : E-R Model) ถูกคิดค้นโดยเชน (Chen) ในปีค.ศ.1976 ถือว่าเป็นแบบจำลองที่ใช้ในการแสดงการออกแบบฐานข้อมูลในระดับ แนวคิด (High-level Conceptual Data Model) ซึ่งเป็นอิสระจากระบบจัดการฐานข้อมูล
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 รูปแบบที่เป็นบรรทัดฐาน

ภายหลังจากออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด ทำให้ได้มุมมองในระดับแนวคิด โดยใช้แบบจำลองข้อมูลด้วยแบบจำลองอี-อาร์ ซึ่งในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่าแผนภาพอี-อาร์ ผู้ออกแบบระบบจะทำการแปลงแผนภาพอี-อาร์ เป็นโครงสร้างตาราง โดยผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องพิจารณา ทั้งเอนทิตี้ แอททริบิวท์ และระดับความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นมุมมองในระดับตรรกะ ที่มีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้เห็นได้ว่า ฐานข้อมูลจะต้องประกอบด้วยรีเลชั่น หรือตารางใดบ้าง และแต่ละรีเลชั่นจะต้องประกอบไปด้วยแอททริบิวท์ใด เป็นต้น โดยเป้าหมายของการใช้ฐานข้อมูล เชิงสัมพันธ์คือ การออกแบบรีเลชั่น เพื่อประสิทธิภาพในการเพิ่ม ลบ ปรับปรุง และสอบถามข้อมูล โดยพยายามลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ในเก็บข้อมูล และยังก่อให้เกิดข้อมูลผิดปกติ ซึ่งมีผลกระทบต่อความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล ดังนั้นวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาแก้ปัญหา ในการออกแบบฐานข้อมูล ได้แก่ การออกแบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐาน (normal form) โดยเรียกวิธีการนี้ว่า นอร์มัลไลเซชัน (normalization) ภาษาไทยบางแหล่งใช้คำว่า การลดรูป บางแหล่งใช้คำว่ารูปแบบบรรทัดฐาน
วิดีโอการสอน


บทที่ 7 คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update

ภาษาที่ใช้จัดการฐานข้อมูล (Structured Query Language: SQL) เป็นภาษามาตรฐานที่นิยมใช้ในการสอบถามข้อมูลเชิงโครงสร้าง และตอบสนองข้อกำหนดข้างต้นได้เป็นอย่างดี บนระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของภาษาที่ใช้ในการสอบถามข้อมูลจากระบบการจัดการฐานข้อมูลอีกหลายระบบ แบ่งกลุ่มคำสั่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้งาน
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : บทที่ 7 คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update


บทที่ 8 คำสั่ง Select , Where

ภาษาที่ใช้จัดการฐานข้อมูล (Structured Query Language: SQL) เป็นภาษามาตรฐานที่นิยมใช้ในการสอบถามข้อมูลเชิงโครงสร้าง และตอบสนองข้อกำหนดข้างต้นได้เป็นอย่างดี บนระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของภาษาที่ใช้ในการสอบถามข้อมูลจากระบบการจัดการฐานข้อมูลอีกหลายระบบ แบ่งกลุ่มคำสั่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้งาน
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : บทที่ 8 คำสั่ง Select , Where