9570202 เขียนแบบเครื่องกล

Responsive image

9570202 เขียนแบบเครื่องกล

คำอธิบายรายวิชา
การเขียนภาพร่างทั้งสองมิติและสามมิติ การเขียนแบบฝา การเขียนแบบเครื่องยึดน๊อตสกูร สลักเกลียว ตอกหมุด กุญแจ หมุดและสปริง และการเขียนแบบชิ้นส่วนของเครื่องกลเพื่อใช้งานจริง

จำนวนการเข้าชม
10723 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
513 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.88 จากทั้งหมด 127 คะแนน

บทที่1 บทนำ

ในการเขียนแบบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและทำงานได้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการเขียนแบบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องของขนาดเขียนแบบ ลักษณะของเส้นที่ใช้เขียน มาตราส่วน และ อักษรที่ใช้ในการเขียน...
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 การเขียนภาพร่าง 2 มิติ

ในการเขียนแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล หรือแบบงานทั่วๆไป มีอยู่ 2 ลักษณะคือ 2มิติและ 3 มิติ ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึง ภาพ 2 มิติ และเทคนิคในการเขียนแบบต่างๆ
วิดีโอการสอน


บทที่3 การเขียนภาพร่าง 3 มิติ

ภาพสามมิติเป็นภาพที่แสดงสัดส่วนของชิ้นงาน ในลักษณะที่คล้ายกับรูปทรงจริงของชิ้นงาน ซึ่ง สามารถแสดงมิติได้ทั้ง 3 มิติ ในภาพเพียงภาพเดียว ทำให้ผู้อ่านแบบเข้าใจแบบได้ง่าย แต่ไม่สามารถนำไปใช้ เป็นแบบทำงานได้ เนื่องจากไม่สามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ลงในภาพสามมิติได้ครบถ้วน โดยส่วนมาก จะใช้ร่วมกับภาพฉาย เพื่อให้อ่านแบบงานได้ง่ายขึ้น
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 การเขียนแบบผ่า

การผ่าหรือตัดเนื้อวัสดุงานเพื่อแสดงรายละเอียดรูปร่างชิ้นงานภายใน เช่น รูเจาะ รูคว้าน ร่องลิ่ม หรือแสดงลักษณะประกอบกันของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านแบบ
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 การเขียนแบบน็อต

ในการจับยึดชิ้นงาน ซึ่งการจับยึดชิ้นงานนั้น มีหลายแบบด้วยกัน แต่เราจะเน้นเฉพาะการจับยึดชิ้นงานที่ใช้สลักเกลียว (bolt) และแป้นเกลียว (nut) พร้อมทั้งจะได้เรียนรู้คําศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเกลียวและโครงสร้างของเกลียว หลักการในการวาดชิ้นส่วนสําหรับการจับยึด การบอกขนาด รวมถึงการใช้งานสลักเกลียวและแป้นเกลียวอย่างถูกต้องเหมาะสม
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 การเขียนแบบสกรู

ในการประกอบชิ้นงาน สลักเกลียวและนัตจะเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานที่มีหน้าที่ทำให้ชิ้นงานนั้น ยึดติดกัน โดยอาศัยการขันน็อตใหชิ้นงานติดกัน และสามารถคลายออกได้โดยไม่เกิดความเสียหาย นอกจากนั้นสลักเกลียวยังมีบทบาทหน้าที่อย่างอื่นอีกเช่น การส่งกำลังการเคลื่อนที่ป้องกันการรั่วซึม ใช้ในการผ่อนแรงโดยสลักเกลียวและน็อตจะประกอบไปด้วยเกลียวนอกและเกลียวใน
วิดีโอการสอน


บทที่7 การเขียนแบบตอกหมุด

การย้ำหมุดเป็นกระบวนการต่อแผ่นโลหะแบบถาวร ตะเข็บย้ำหมุดจะใช้กับแผ่นงานที่ต้องการความแข็งแรงมากและไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง การย้ำหมุดมี 2 วิธี คือการใช้มือและการใช้เครื่องจักร ขึ้นอยู่กับความหนาของงาน
วิดีโอการสอน


บทที่ 8 การเขียนแบบสปริง

สปริง (spring) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่หลายประการในงานด้านเครื่องจักรกล เช่น การควบคุมแรงอันเนื่องมาจากการกระแทก ควบคุมการสั่นสะเทือน ควบคุมการเคลื่อนที่และแรงของชิ้นส่วนต่างๆ ใช้ในการวัดน้ำหนัก ป้องกันการคลายตัวของแป้นเกลียว ฯลฯ
วิดีโอการสอน


บทที่ 9 การเขียนแบบชิ้นส่วนเพื่อใช้ในงานจริง

การเขียนแบบเพื่อใช้งาน มีความหมายว่าแบบที่เขียนนั้นจะต้องพร้อมส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ ดังนั้นแบบที่เขียนต้องมีการใส่รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมลงไปให้ครบถ้วน ภาพเขียนแบบเพื่อใช้งาน (working drawing) คือชุดภาพเขียนแบบที่จะใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วยภาพเขียนแบบโดยละเอียด (detail drawing) และภาพเขียนแบบประกอบ (assembly draing)
วิดีโอการสอน