บทที่ 1 กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์คือเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานที่มีขั้นตอนการทำงานทางด้านการจัดการกับข้อมูลไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ ตัวเลข หรือแม้กระทั่งสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นระบบที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติกับข้อมูล และช่วยทำงานที่สลับซับซ้อนหรืองานที่มีปริมาณมากๆ ได้ มีการทำงานด้านการรับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูล โดยอาศัยคำสั่งผ่านโปรแกรมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถรับได้มีความถูกต้องรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหา ช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือตามที่มีการป้อนคำสั่งในการใช้งานเข้าไปและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ 2 กฎหมายคอมพิวเตอร์
กฎหมายคอมพิวเตอร์ : การกำหนดมาตรการสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นกฎเกณฑ์บังคับทางกฎหมายในการใช้คอมพิวเตอร์ให้ถูกต้อง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น นอกจากจะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะมีจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์แล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องศึกษาในด้านของกฎหมายคอมพิวเตอร์อีกด้วย
บทที่ 3 ความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัว : ในยุคดิจิทัลข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ การรับข้อมูล การส่งข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในวันนี้เราได้รับข้อมูลในปริมาณมากที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน หรือข้อมูลส่วนบุคคลสามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกสบายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ให้ความสะดวกสบายและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ต้องหันมามองว่าข้อมูลที่หลากหายหรือหลายบุคคลจะต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่อาจถูกจัดเก็บและเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันสมควร
บทที่ 4 ความรับผิดชอบในการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรับผิดชอบเป็นลักษณะของบุคคลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเอาใจใส่ การดูแล ความรับผิดชอบ ความตั้งใจ ความอดทน มีความมุ่งมั่นต่อหน้าที่การทำงาน ตลอดจนสังคม และเศรษฐกิจ อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายในเวลาที่กำหนด
บทที่ 5 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังคมไซเบอร์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลกเสมือนจริงนั้น มีผลทั้งในด้านดีและด้านเสีย ในด้านดีก็คือ เทคโนโลยีสามารถสนับสนุนหรือช่วยให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าเกิดการทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็ว เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมภายในเวลาไม่นาน
บทที่ 6 ความตระหนักในวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการทำให้ทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง ทำให้การใช้งานเกิดคุณภาพในทุกชิ้นงาน ทุกผลิตภัณฑ์ และรวมถึงวิธีทำงาน และมุ่งมั่นในการผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งมีหลายวิธีในการสร้างให้เกิดความตระหนักได้
บทที่ 7 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
อาชญากรรม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542) หมายถึง การกระทำความผิดทางอาญา โดยอาชญากรรมเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 มีหลักการว่า บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
บทที่ 8 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมสารสนเทศ ไม่ว่าอาชีพใด กลุ่มบุคคลใด จำเป็นต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการทำงาน ประกอบอาชีพ และทำในสิ่งที่ได้รับมอบหมายนั้น เพื่อมุ่งหวังในการพัฒนางาน พัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ รวมทั้งพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
บทที่ 9 จริยธรรมในการทำงานแบบร่วมสมัย
กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม เหมาะสม และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับจากสังคม เพื่อความสันติสุขแห่งตนเองและความสงบเรียบร้อยของสังคม
บทที่ 10 บทบาทและจรรยาบรรณของวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิชาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีมากมายหลายอาชีพ ซึ่งจรรยาบรรณแต่ละอาชีพนั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ประกอบอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นๆ ก็ควรจะต้องศึกษาถึงจรรยาบรรณนี้ด้วย