บทที่ 1 ทฤษฎีไฟฟ้าพื้นฐาน
โครงสร้างของอะตอมแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากฎของโอมห์ม
บทที่ 2 ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
•ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีอิทธิพลมากในชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา เราสามารถนำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านแสงสว่าง ด้านความร้อน ด้านพลังงาน ด้านเสียง
•การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกวิธี ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเภทของไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่ควรจะรู้จัก
บทที่ 3 การป้องกันอุบัติภัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางไฟฟ้า
การทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า จะมีโอกาสถูกไฟฟ้าดูดได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะตั้งใจหรือโดย บังเอิญก็ตาม
เนื่องจากไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าหากว่าระดับ แรงดันไฟฟ้ามีค่าสูงมาก ก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเราสามารถป้อง กันได้ ถ้าหากปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติของไฟฟ้าที่สำคัญคือ กันไว้ดีกว่า แก้และปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบไม่ประมาท
บทที่ 4 ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า
สายไฟฟ้าเป็นสื่อกลางในการนำเอากำลังไฟฟ้าจากแหล่งต้นกำลังไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า ไปติดตั้ง ใช้งาน จะพิจารณาจากข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญได้แก่ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ใช้และสภาพแวดล้อมของการใช้งาน
บทที่ 5 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า
การติดตั้งไฟฟ้าโดยทั่วไปจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุหลายชนิดร่วมกันจึงจะสามารถทำงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์บางอย่าง อาจจะไม่สามารถทำงานได้เลย ตัวอย่างเช่น ไม่มีฟิสเทป (fish tape) การร้อยสายเข้าในท่อจะทำได้ลำบากมาก ดังนั้น ในบทนี้จะกล่าวถึงเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ที่ช่างไฟฟ้าจะต้องใช้งานในโอกาสต่อไป
บทที่ 6 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่างๆ
ในการเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้วจะมีการตัดสายไฟฟ้าให้สั้นลงถ้าหากว่าสายนั้นยาวเกินความจำเป็นในทางกลับกันจะต้องต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ถ้าหากว่าสายนั้นสั้นเกินไป หรืออีกกรณีหนึ่งคือเป็นการต่อแยกออกจากสายเมนที่พบเห็นทั่วไปคือการต่อสายเมนที่เสาไฟฟ้าบริเวณหน้าบ้านนั่นเอง
บทที่ 7 วิธีการเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร
การติดตั้งไฟฟ้าแบ่งตามวิธีการเดินสายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ก. แบบเปิด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบเดินลอย การเดินสายวิธีนี้สามารถมองเห็นสายไฟฟ้าได้อย่างชัดเจน เช่นการเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสาย เป็นต้น
ข. แบบปิด สายไฟฟ้าจะถูกซ่อนไว้อย่างมิดชิด เป็นการป้องกันการกระแทกจากภายนอก ได้แก่ การเดินสายในท่อ ในรางเดินสาย (wire way) และรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น
วิดีโอการสอน
บทที่ 8 การเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
ในบริเวณที่สายไฟฟ้าอาจจะถูกกระทบกระแทก มีความชื้น สารเคมีหรือมีความเป็นกรดเช่น จะนิยมการเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายเนื่องจากมีความปลอดภัยเมื่อเกิดประกายไฟหรือเกิดการอาร์ก นอกจากนี้ยังใช้ท่อโลหะเป็นตัวนำในการต่อลงดินอีกด้วย แต่ต้องมั่นใจว่ารอยต่อต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง มั่นคงและแข็งแรง
วิดีโอการสอน
บทที่ 9 การออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
ในการออกแบบระบบไฟฟ้า จะต้องใช้สัญลักษณ์แทนอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ เพื่อสื่อให้ผู้ใช้งานมีความเข้าใจตรงกับผู้ออกแบบ เพื่อให้งานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงกับที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้
บทที่ 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านประกอบด้วยเครื่องใช้ประเภทต่างๆ ที่จำเป็นในแต่ละหน้าที่เช่น หม้อหุงข้าว กระติกต้มน้ำ เตารีด เครื่องปรับอากาศ พัดลม ทีวี ตู้เย็น วิทยุ ฯลฯ โดยในเนื้อหาบทนี้จะเน้นที่หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการสังเกตความบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ
บทที่ 11 การซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ในบทนี้จะกล่าวถึงการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น การเปลี่ยนฟิวส์สะพานไฟเมื่อฟิวส์ขาด การตรวจสอบอาการเสียของหลอดฟูออเรสเซน การตรวจซ่อมปลั๊กพ่วง การเปลี่ยนปลั๊กตัวผู้และการเปลี่ยนฟวส์ปลั๊กพ่วง การต่อหลอดไฟใช้เอง
วิดีโอการสอน