4103709 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น

Responsive image

4103709 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น

คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดและหลักการด้านงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในการทำงานและผลกระทบ อุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ปัญหาในการทำงาน การควบคุมและป้องกันทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร มาตรฐานกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ และภัยทางสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ

จำนวนการเข้าชม
30778 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
1576 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.92 จากทั้งหมด 187 คะแนน

บทที่ 1 ความหมายและหลักการของการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมช่วงแรกของโลก ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมเพื่อการดำรงชีพเป็นหลัก จนถึงช่วงปีค.ศ. 1750 ถึง ค.ศ. 1850 ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ขึ้นที่ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบบและวิธีการผลิต คือ เปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนและสัตว์ มาเป็นเครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน รวมทั้งมีแรงงานเสียชีวิตจากการทำงานมากขึ้น การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในช่วงต้นได้อาศัยการรวมตัวของประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรวิชาชีพต่างๆผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานขึ้นมา
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 บุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้โดยอาศัยบุคคลเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือการทำงานของสหสาขาวิชาชีพมากมายร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง รวมทั้งหน่วยงานหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงองค์กรวิชาชีพต่างๆ ดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบ จนทำให้งานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบมาจนถึงปัจจุบัน ในบทนี้จะกล่าวถึงบุคลากร และหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่องานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
วิดีโอการสอน


บทที่ 3 หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

อุบัติเหตุหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้น มีสาเหตุมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เมื่อนักอาซีวอนามัยและความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ตระหนักถึงอันตรายจากการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้เลยคือการป้องกันควบคุมอันตราย จากสภาพแวดล้อมในการทำงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย อันได้แก่ การปลอดภัยจากอุบติเหตุและโรคจากการทำงาน โดยอาศัยหลักการการป้องกันควบคุมที่แหล่งกำเนิด การป้องกันควบคุมที่ทางผ่าน และการป้องกันควบคุมที่ตัวบุคคล เพื่อเป็นการลดหรือขจัดอันตรายให้หมดไปจากสภาพแวดล้อมการทำงาน อันจะนำผลดีมาสู่ตัวผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนร่วมงาน สถานประกอบการและประเทศชาติได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 4 ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าและบริการมีคุณภาพ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ในการพัฒนาสินค้าและบริการนี้ ต้องนำเทคโนโลยี เครื่องจักร สารเคมี กระบวนการผลิตที่ทันสมัยเข้ามา อันเป็นสาเหตุให้แรงงานยังเกิดการบาดเจ็บและโรคจากการทำงานอยู่มาก เนื่องจากผู้ประกอบการหวังเพียงผลิตภัณฑ์ แต่ขาดการเอาใจใส่ด้านด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน จากสถานการณ์การบาดเจ็บพบว่า อุบัติเหตุจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรมยังมีสูงอยู่ โดยเฉพาะการบาดเจ็บในงานก่อสร้าง ทำให้สถานประกอบการ และประเทศชาติ ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่เกิดจากการบาดเจ็บของแรงงานเป็นจำนวนมาก สูญเสียซื่อเสียงภาพลักษณ์ขององค์กร รวมทั้งถูกกีดกันทางการค้า ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความสูญเสียอาจเกิดขึ้น จากการทำงาน ต้องมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อตอบสนองระเบียบวาระแห่งชาติที่ว่าด้วย
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 สภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

เมื่อผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติงานอยู่ในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานโดยการตอบสนองต่ออันตรายในรูปแบบต่างๆ เช่น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดโรค จากการทำงาน และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และสัมผัสทางผิวหนัง การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน แบ่งสภาพ แวดล้อมในการทำงานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมในการ ทำงานด้านเคมี สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านชีวภาพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการยศาสตร์ แต่ความเป็นอันตรายของสภาพแวดล้อมการทำงานนั้น ต้องประเมินให้ได้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจริงหรือไม่ โดยใช้วิธีการตรวจรัดทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย นำค่าที่ได้จากการตรวจรัดไปเทียบกับค่ามาตรฐาน แล้วแปลผลออกมาว่าเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือไม่
วิดีโอการสอน


บทที่ 6 หลักการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ

การจัดบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ เป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของสถาน ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างจงรักภักดีกับองค์กร ปฏิบัติงานในองค์กรอย่างเต็มกำลังและความสามารถที่สุด รวมทั้งแสดงออกถึงความห่วงใย จริยธรรม และจรรยา บรรณ ของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง โดยการจัดสวัสดิการนั้นจะยึดหลักการปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย มีความเห่า เทียมและทั่วถึงทุกคนในองค์กร รามทั้งควรมีความต่อเนื่องในการให้บริการ ปัจจุบันประเทศไทยได้ดำเนินการจัดบริการและสวัสดิการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับ ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถ ในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน และนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การปราศจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน รวมทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงานดีขึ้น
วิดีโอการสอน


บทที่ 7 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งหรืออุปกรณ์ใดๆที่สวมลงบนอวัยวะของร่างกาย หรือส่วน ของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุจากการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มี 7 ประเภทตั้งแต่ ศีรษะจรดเท้า ได้แก่อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน อุปกรณ์ป้องกันมือและผิวหนัง อุปกรณ์ป้องกันเท้าและ อุปกรณ์ป้องกันการตก
วิดีโอการสอน


บทที่ 8 หลักการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ

การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรในประเทศไทย เวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการทำงาน การจัดสภาพในที่ทำงานให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ทำงานจึงมีความสำคัญ
วิดีโอการสอน


บทที่ 9 การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง จากการประกอบอาชีพ

สุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสถานประกอบการ และการพัฒนาประเทศ ถ้าสามารถดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพให้มีสุขภาพดีดังเดิม ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงวัยเกษียณอายุงานออกจากสถานประกอบการ ก็จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงการดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้กับผู้ประกอบอาชีพที่มีประสิทธิภาพที่สุด ถือเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จากข้อมูล กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุและ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละปียังคงสูงอยู่ การตรวจสุขภาพของผู้ประกอบ อาชีพนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพได้
วิดีโอการสอน


บทที่ 10 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นการเตรียมพร้อม การป้องกัน ให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักในเรื่องของความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
วิดีโอการสอน