บทที่ 1 สถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์พื้นฐาน
เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพวิวัฒนาการของการพัฒนาชิป(วงจรรวม)
ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกหลากหลายต่างๆที่มีชิบไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวประมวลผลภายใน เช่น กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ฯลฯ
บทที่ 2 โครงสร้างภายในของไมโครคอนโทรลเลอร์
ผู้เรียนจะเข้าใจถึงโครงสร้างพื้นฐานของชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ได้แก่
(1)ช่องทางเชื่อมต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอก 4 พอร์ตๆละ 8 บิตรวม 32 บิต
(2)ขนาดของหน่วยความจำภายในชิป ที่เป็นหน่วยความจำข้อมูล/ หน่วยความจำโปรแกรม/
(3)นาฬิกาที่นำมาใช้เป็นตัวนับ(counter) และตัวจับเวลา(timer)
(4)วงจรขัดจังหวะ (interrupt)
บทที่ 3 ชุดคำสั่งแยกตามประเภทการใช้งาน
ในบทนี้... เพื่อให้ผู้เรียนเศึกษาวิธีการใช้ซอฟต์แวร์ ISIS Professional Proteus เพื่อเรียนรู้โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี การตั้งชื่อตัวแปรและการใช้ตัวแปร (identifier) การใช้ตัวแปรชุด (array) การใช้งานชุดคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่า การใช้ชุดคำสั่งเกี่ยวกับการประมวลผลเลขคณิตและตรรกศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร การเพิ่มค่า การลดค่า การเลื่อนบิต การเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ไม่เท่ากับ and-or-xor operation ฯลฯ
การใช้ชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับเงื่อนไขทางเลือก แบบสองทาง-แบบหลายทาง โดยใช้ if-condition หรือ switch case -condition โดยการพัฒนาาโปรแกรมภาษาซี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสำหรับชิป AT89C51 ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต ให้ทำงานสัมพันธ์กัน
บทที่ 4 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ตัวอย่างงานควบคุมแบบพื้นฐาน จากผังความคิดในการพัฒนางานควบคุม-การจำลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์-การเขียนโปแกรมควบคุมแบบง่ายๆเริ่มตั้งแต่การติดสว่างของหลอด LED 1 ดวง ถึงหลายดวง/
การแสดงผลของส่วนแสดงผล 7 ส่วน/การใช้สวิตช์ 1 ตัว ถึง 8 ตัวควบคุมการติด-ดับของหลอด LED/ ส่วนแสดงผล 7 ส่วน / การทำงานของมอเตอร์
บทที่ 5 การออกแบบวงจรหน่วยความจำและอุปกรณ์ต่อร่วม
บทที่ 6 ตัวอย่างโปรแกรมการใช้งานจริง
ในบทที่ 6 นี้ จะศึกษาเกี่ยวกับงานควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ MCS-51 โดยเริ่มจากงานควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ MCS-51 แบบ Byte-control และแบบ Bit-control ได้แก่ การหมุนดีซีมอเตอร์แบบตามเข็ม-ทวนเข็มนาฬิกา / งานควบคุมการติด-ดับของดวงไฟ LED ตั้งแต่ 1 ดวงถึง 8 ดวง(ซึ่งนำไปสู่การจำลองไฟจราจร) / งานเกี่ยวกับทางเลือก (condition) ที่เน้นการใช้ If-Condition และ Case-condition ในการพัฒนาโปรแกรมควบคุมที่มีทั้งอินพุตและเอาต์พุต โดยอินพุตมีทั้งสวิตช์แบบ Button switches และแบบ Matrix (3x4) switches รวมถึงเอาต์พุตมีตั้งแต่ หลอด LED -7 segment display – DC Motor และ Stepper motor/ นอกจากนี้ ในตอนท้ายเป็นตัวอย่างการขัดจังหวะการทำงานของ MCS-51 ด้วย Interrupt Routine Service เป็นตัวอย่างการขัดจังหวะงานหลักด้วยการกดสวิตช์ภายนอกที่ต่อกับขา Int.0(P3.2) และขา Int.1(P3.3)