7151304 การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล

Responsive image

7151304 การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล

คำอธิบายรายวิชา
เทคนิคในการเขียนโปรแกรมแบบวิชวล องค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมแบบวิชวล การทำงานกับโค้ดและฟอร์ม การใช้วัตถุควบคุม พื้นฐานในการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมที่ติดต่อกับฐานข้อมูล

จำนวนการเข้าชม
5859 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
150 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.67 จากทั้งหมด 28 คะแนน

การเขียนโปรแกรมแบบวิชวลเบื้องต้น

การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล ช่วยให้สร้างโปรแกรมโดยอาศัยการจัดการองค์ประกอบด้านกราฟิกของโปรแกรมมากกว่าการเขียนโค้ดที่เป็นข้อความ เครื่องมือที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรมใช้การแสดงและการโต้ตอบผ่านภาพ ซึ่งจะจัดเตรียมชุดคำสั่งในรูปของข้อความและสัญลักษณ์กราฟิกให้ใช้งาน เพื่อเป็นองค์ประกอบของไวยากรณ์หรือสัญกรณ์รอง ยกตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรมด้วยแผนภาพ ได้แก่ การใช้การไหลของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอกเข้ามาในระบบ (data flow) ในการควบคุมการทำงาน เป็นต้น เป็นการเขียนโปรแกรมที่ขึ้นอยู่กับความคิดโดยใช้ภาพแสดงทิศทางและการเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์

การเขียนโปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ (event handler) โดยกำหนดการทำงาน (active) ของโปรแกรมเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ (event) ที่ผู้ใช้ดำเนินการกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล้วคอมพิวเตอร์จะดำเนินการอย่างไรในแต่ละแพลตฟอร์ม ทั้งการใช้ตัวแทนหรือการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ ว่าจะทำงานและโต้ตอบได้ตามความต้องการ
วิดีโอการสอน


การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface เรียกย่อว่า GUI) ของระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะช่วยใช้ผู้ใช้งาน ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกว่าแบบข้อความ ดังนั้นการเขียนโปรแกรมด้วยการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิกเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Device) ในแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงการเลือกภาษาที่ใช้งานผ่านส่วนควบคุมผู้ใช้ (user control) หรือ ส่วนติดต่อการใช้งาน (user interface) ที่เหมาะสมในการใช้งาน เรียกว่า "UI/UX" ทั้งสวยงามและใช้ประโยชน์ได้จริง
วิดีโอการสอน


การควบคุมการทำงานของโปรแกรม

การประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ใช้หลักการเหตุและผลเพื่อช่วยในการดำเนินการทั้งการควบคุมการทำงานและการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการของคอมพิวเตอร์ เหมือนกับสมองของมนุษย์ โดยรับข้อมูลมาใช้ในการประมวลผลหรือคิดแล้วจึงแสดงออกในรูปแบบการโต้ตอบที่แตกต่างกันไป การเขียนโปรแกรมแบบวิชวลที่ใช้การเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้ากับการดำเนินการ ต้องกำหนดขั้นการดำเนินงานที่ผูกติดกับตัววัตถุที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดำเนินการได้ ซึ่งต้องใช้องค์ประกอบพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม ได้แก่ การประกาศตัวแปร การตรวจสอบด้านตรรกะ การทำซ้ำ และอื่น ๆ
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยส่วนโต้ตอบกับผู้ใช้กับการจัดการข้อมูลที่จำเป็นในการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งโปรแกรมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลอย่างมาก ในการเขียนโปรแกรมจึงแบ่งหน้าที่การทำงานเป็น 3 ส่วน คือ 1) ส่วนติดต่อผู้ใช้ 2) ส่วนควบคุม และ 3) ส่วนจัดการแบบจำลองข้อมูล ซึ่งเป็นหน้าที่ของตัวจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ในการเขียนโปรแกรมในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีไลบรารีเพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ
วิดีโอการสอน


ฟังก์ชันการทำงานและการให้บริการ

การเขียนโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายฟังก์ชันการทำงานและการให้บริการมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการเขียนโปรแกรมแบบต่อประสานมีการเรียกใช้งานส่วนประกอบต่าง ๆ จากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 อุปกรณ์รองรับผู้ใช้จำนวนมาก การพัฒนาฟังก์ชันและบริการไว้ให้ใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น Google Application ที่สามารถเชื่อมโยงกับบริการต่าง ๆ ได้ผ่านสมาร์ทโฟน
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมด้วย visual studio

การเขียนโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ถือเป็นแอพพลิเคชันที่ผู้ใช้คุ้นชินในการใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง ซึ่งในการพัฒนาด้วยชุดเครื่องมือ visual studio ในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมผ่าน Windows Form ใช้การลากวางอินเตอร์เฟซพื้นฐาน และเขียนโปรแกรมภาษา C# ควบคุมการทำงานโต้ตอบกับผู้ใช้ตามเหตุการณ์
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมด้วย Netbeans

Java GUI วิธีการสร้าง Java GUI ทำความรู้จัก Swing GUI และ AWT GUI (JFC) สำหรับ GUI (Graphical User Interface) เป็นการเขียนโปรแกรม Java ที่สร้างหน้าจอ Interface ที่เป็นแบบ Graphic ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกับการใช้งานบน Windows / Mac หรือ Linux ที่เป็น Desktop ซึ่งจะมีวิธีการเขียนเหมือนกับ Window App ใน .Net Framework ซึ่งเราอาจจะคุ้นเคยพวก Windows Form ที่ประกอบด้วย Label , Textbox ,Button การสร้าง Event Handler ด้วยการคลิก รวมทั้งการสร้างพวก Menu bar / Tabbar ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ในการเขียน Java GUI ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยทั้งหมดนี้เราสามารถทำผ่าน Visual มุมมองการ Drag and Drop
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมด้วย xcode

ระบบปฏิบัติการ IOS เป็นระบบที่ทันสมัยมีทุกอย่างที่จำเป็นต้องต่อผู้ใช้ การออกแบบแอปพลิเคชันที่สวยงาม มีส่วนที่ทรงพลังและความเรียบง่าย
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมด้วย Android Studio

อินเตอร์เฟซของผู้ใช้แอปพลิเคชัน คือส่วนที่ผู้ใช้สามารถดูและโต้ตอบกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้ มีการสร้าง UI ไว้ล่วงหน้าด้วยวิธีการที่หลากหลาย คอมโพเนนต์ถือเป็นวัตถุที่นำมาใช้เป็นโครงสร้างและการควบคุม UI ช่วยให้สามารถสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิกสำหรับแอปของคุณ Android นอกจากนั้นยังมีโมดูล UI อื่น ๆ สำหรับการเชื่อมต่อพิเศษเช่น กล่องโต้ตอบการแจ้งเตือนและเมนู
วิดีโอการสอน


แอนดรอยด์แอปพลิเคชัน (MIT App Inventor)

การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล ช่วยให้สร้างโปรแกรมโดยอาศัยการจัดการองค์ประกอบด้านกราฟิกของโปรแกรมมากกว่าการเขียนโค้ดที่เป็นข้อความ เครื่องมือที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรมใช้การแสดงและการโต้ตอบผ่านภาพ ซึ่งจะจัดเตรียมชุดคำสั่งในรูปของข้อความและสัญลักษณ์กราฟิกให้ใช้งาน เพื่อเป็นองค์ประกอบของไวยากรณ์หรือสัญกรณ์รอง ยกตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรมด้วยแผนภาพ ได้แก่การใช้ dataflow ในการควบคุมการทำงาน เป็นต้น เป็นการเขียนโปรแกรมที่ขึ้นอยู่กับความคิดโดยใช้ภาพแสดงทิศทางและการเชื่อมต่อกันเพื่อเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์
วิดีโอการสอน
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .ppt : เอกสารประกอบ App Inventor


การเขียนโปรแกรมด้วย OzoBlockly

Ozo Blockly ถูกพัฒนาเพื่อใช้เขียนโปรแกรมแบบวิชวล โดยใช้กล่องสัญลักษณ์ประกอบในการควบคุมการดำเนินการของวัตถุผ่านการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแต่ละเหตุการณ์ แทนการพิมพ์ชุดคำสั่งในการควบคุมหุ่นยนต์ Ozo bot ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมผ่านเว็บไซต์ https://ozoblockly.com/ และโหลดโปรแกรมในการควบคุมได้ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์และการดำเนินพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม
วิดีโอการสอน


การเขียนเว็บแอพพลิเคชัน

การเขียนเว็บแอพพลิชันสามารถทำงานได้กับทุกแพลตฟอร์ม การเขียนเว็บที่ได้มาตรฐานนิยมนำเฟรมเวริ์กเข้ามาช่วยในการออกแบบและพัฒนา ซึ่งทำให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่ความยุ่งยากมักเกิดจากการศึกษารูปแบบการนำมาใช้งาน และทักษะพื้นฐานในการพัฒนาเว็บตามหลักการที่ถูกนำมาใช้ในการทำงานของแต่ละเฟรมเวริ์ก
วิดีโอการสอน


การเขียนโปรแกรมด้วย Node-RED

Node-RED เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM Emerging Technology ลักษณะของ Node-RED เป็น Visual Tool ซึ่งใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และ API ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ใช้หลักการ Flow-Base Programming โดยที่ฮาร์ดแวร์ Service หรือ API อยู่ใน การจัดวางขั้นตอนการดำเนินงานผ่าน Node ที่ใช้แทนการทำงาน ทำให้ผู้พัฒนา Application ไม่ต้องเขียน Code แต่ต้องเข้าใจรูปแบบการดำเนินการของ Node แต่ละแบบและปรับค่าที่รับส่งระหว่าง Node รวมถึงเขียนฟังก์ชันควบคุมด้วยภาษา JavaScript
วิดีโอการสอน