1541104 การเขียน

Responsive image

1541104 การเขียน

อาจารย์ผู้สอน

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน การวางโครงเรื่อง การเขียนย่อหน้า การเขียนย่อความ สรุปความ การใช้ภาษาทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง และฝึกปฏิบัติการเขียนเบื้องต้น

จำนวนการเข้าชม
2077 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
135 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.67 จากทั้งหมด 14 คะแนน

บทที่ 1 หลักการเขียนเบื้องต้น

การสื่อสารของมนุษย์มีพัฒนาการมาโดยลำดับ จากการส่งสารด้วยการพูดและรับสารด้วยการฟังมาสู่การส่งสารด้วยการเขียนและรับสารด้วยการอ่าน ซึ่งเกิดเมื่อมนุษย์ได้สร้างตัวอักษรขึ้นมาใช้แทนเสียงในภาษา ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดนการเขียนยิ่งมีบทบาทและความสำคัญมาแทนที่การพูดมากขึ้น ขณะที่การอ่านก็มีบทบาทและความสำคัญแทนการฟังมากขึ้นเช่นกัน หากแต่การพัฒนาความสามารถทางการใช้ภาษาโดยการเขียนเป็นเรื่องยาก ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่าการเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ความเป็นศาสตร์ของการเขียนอยู่ที่การมีกฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์ที่ปราชญ์ได้กำหนดขึ้นซึ่งสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ส่วนด้านความเป็นศิลป์ของการเขียนก็คือความประณีตในการเลือกสรรถ้อยคำมาใช้เพื่อสื่อความหมาย การรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน โวหาร และลีลาต่าง ๆ ล้วนก่อให้เกิดความงามขึ้นในภาษาเขียนและทำให้ภาษาเขียนแตกต่างจากภาษาพูด ทั้งนี้บุคคลย่อมสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการฝึกฝนการเขียนควรเริ่มต้นจากความเป็นศาสตร์คือรู้กฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์เป็นพื้นฐานเบื้องต้นก่อน ต่อเมื่อมีพื้นฐานหรือหลักการดีแล้วจึงค่อยแต่งเติมเพื่อความเป็นศิลป์เข้าไปในการเขียนซึ่งจะสามารถทาได้โดยไม่ยาก และหากสามารถฝึกฝนไปได้พร้อม ๆ กันทั้งศาสตร์และศิลป์ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
วิดีโอการสอน


บทที่ 2 การวางโครงเรื่อง

การเตรียมความพร้อมก่อนลงมือเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรเริ่มต้นจากการวางโครงเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อมูล นอกจากนั้นยังเป็นการลำดับความคิดในการนำเสนอเรื่องผ่านการให้เป็นลำดับขั้นตอน การวางโครงเรื่องนอกจากเป็นแนวทางในการเขียนก่อนลงมือเขียนแล้วนั้น โครงเรื่องยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเตือนความจำของผู้เขียนเมื่อลงมือเขียนอีกด้วย
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : การวางโครงเรื่อง


บทที่ 3 องค์ประกอบของการเขียนความเรียง

ภาษานอกเหนือจากใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และทัศนคติแล้ว ยังใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอีกด้วย การใช้ภาษาจังต้องคำนึงถึงโอกาส กาลเทศะ และระดับของบุคคล ภาษาในสังคมจึงถูกจำแนกเป็นหลายระดับ ดังนั้นการเลือกใช้ระดับของภาษาให้เหมาะสมถูกต้องตามชนิดของงานเขียนย่อมทำให้งานเขียนมีความน่าสนใจและความน่าเชื่อถืออีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนเป็นผู้มีความสามารถด้านการใช้ภาษาอีกด้วย
วิดีโอการสอน


บทที 4 การเขียนย่อความและสรุปความ

การย่อความและการสรุปความเป็นวิธีการนำข้อมูลความรู้ที่ผู้เขียนได้รับสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ หากแต่การเก็บข้อมูลที่มีความยาวมากหรือเป็นการนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยละเอียดผู้เขียนไม่จำเป็นต้องบันทึกไว้ทั้งหมด ผู้เก็บข้อมูลสามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะของการย่อความหรือสรุปความเพื่อนำมาใช้ต่อไป รวมถึงในการนำประเด็นสำคัญที่ต้องการมาประกอบการเขียนย่อมต้องผ่านการย่อความและสรุปความทั้งสิ้น
วิดีโอการสอน


บทที่ 5 ระดับภาษา

ภาษานอกเหนือจากใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และทัศนคติแล้ว ยังใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอีกด้วย การใช้ภาษาจังต้องคำนึงถึงโอกาส กาลเทศะ และระดับของบุคคล
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : ระดับภาษา


บทที 6 การใช้สำนวนโวหารในการเขียน

งานเขียนที่น่าอ่านย่อมเกิดมาจากผู้เขียนมีความสามารถในการเลือกสรรการใช้ภาษาในการสื่อความได้อย่างเหมาะสม และสละสลวย สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการได้อย่างกว้างไกล หรือที่กล่าวกันว่าผู้เขียนต้องมีชั้นเชิงในการแต่งหรือหนังสือหรือเล่นถ้อยคำสำบัดสำนวนเป็น
วิดีโอการสอน