7152307 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Responsive image

7152307 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

คำอธิบายรายวิชา
แนะนำการวิเคราะห์และออกแบบเชิงอ็อบเจกต์ และให้นักศึกษาวิเคราะห์ออกแบบระบบจากความต้องการของผู้ใช้ การนำภาษายูเอ็มแอลมาใช้สร้างแบบจำลองแนวคิด การหายูสเคสการทำงานและขยายพฤติกรรมการทำงานของระบบ โดยเปลี่ยนจากสิ่งที่วิเคราะห์ไปเป็นแบบจำลองที่พร้อมนำไปพัฒนาได้จริง

จำนวนการเข้าชม
5426 ครั้ง
ผู้เข้าชมภายนอก
438 ครั้ง
คะแนนรายวิชา
คะแนน: 4.78 จากทั้งหมด 86 คะแนน

แนวคิดเชิงวัตถุ

แนวคิดเชิงวัตถุ (object-oriented concept) เป็นการใช้ออบเจ็กต์ (object) แทนสิ่งต่าง ๆ เพื่ออธิบายองค์ประกอบ พฤติกรรมและการทำงานร่วมกันที่เกิดในเหตุการณ์ในมุมมองที่สนใจด้วยการสร้างแบบจำลองแนวคิดเชิงวัตถุ (object-oriented Model) ซึ่งการนำแบบจำลองแนวคิดเชิงวัตถุไปใช้ในการเขียนโปรแกรมเรียกว่า การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming: oop) ถือเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน เนื่องจากมีการแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ผ่านต้นแบบของออบเจ็กต์ ที่จะนำไปประกอบเป็นซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : แนวคิดเชิงวัตถุ


การรวบรวมความต้องการซอฟต์แวร์

ข้อกำหนดความต้องการ (requirement specification) เป็นข้อกำหนดที่ได้จากการสำรวจความต้องการในการพัฒนาระบบ ก่อนลงมือพัฒนาจะทำการวิเคราะห์ความต้องการ ของผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือทีมพัฒนารวมกัน เพื่อจัดทำข้อกำหนดความต้องการว่ามีการทำงานย่อยใดบ้าง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะนำไปใช้ได้ดังนี้ 1) มองในมุมมองของเจ้าของงาน จะใช้เป็นตัวอ้างอิงความสามารถของระบบในการพัฒนา 2) เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาเพื่อใช้ในการจ้างงาน คือ ต้องทำตามข้อกำหนดความต้องการให้ครบถ้วนสมบูรณ์
วิดีโอการสอน


การวิเคราะห์ความต้องการและออกแบบซอฟต์แวร์

การวิเคราะห์ความต้องการใช้งานและออกแบบจำลอง (Model) การทำงานของซอฟต์แวร์ด้วยยูเอ็มแอล (UML) โดยการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานของออบเจ็กต์ (Object) ด้วยการนิยายคลาส (Class) ที่ใช้เป็นต้นแบบที่รับผิดชอบและติดต่อสื่อสารกัน เพื่อใช้สร้างเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์ (Component) ตามแบบจำลองที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันในทีม
วิดีโอการสอน


ข้อกำหนดความต้องการและแผนภาพกรณีการใช้งาน

การสร้างแผนภาพกรณีการใช้งานซอฟต์แวร์ เพื่อจัดการข้อกำหนดความต้องการใช้งานในแต่ละระดับ ทั้งข้อกำหนดทางธุรกิจ ข้อกำหนดของระบบและข้อกำหนดการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งเป็นข้อตกลงเบื้องต้นในการอธิบายส่วนประกอบของซอฟต์แวร์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องการในมุมมองต่าง ๆ ดังภาพตัวอย่าง
วิดีโอการสอน


การออกแบบจำลองโครงสร้างด้วยแผนภาพคลาส

การสร้างแบบจำลองโครงสร้างการทำงานของซอฟต์แวร์ โดยเริ่มจากการออกแบบแผนภาพคลาสแบบนามธรรม แล้วจึงกำหนดรายละเอียดของคลาสให้เกิดเป็นแบบรูปธรรม กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบการทำงานของคลาส ซึ่งมีความสัมพันธ์กับของคลาสต่าง ๆ ทั้งที่มีความเหมือนหรือต่างกันของคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานให้ได้ตามความต้องการใช้งาน
วิดีโอการสอน


แผนภาพปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้และลำดับการทำงาน

แผนภาพลำดับการทำงานของออบเจ็กต์ในการรับส่งข้อความ โดยแสดงฟังก์ชันการทำงานของแต่ละออบเจ็กต์ ในการทำงานแต่ละกรณีการใช้งาน แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Algorithm, Workflow, Process ใช้เป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นการจัดลำดับการทำงานอย่างเป็นระบบ และแผนภาพปฏิสัมพันธ์ใช้อธิบายขั้นตอนการทำงานของผู้ใช่ร่วมกันของแต่ละกิจกรรมของซอฟต์แวร์ ซึ่งขั้นตอนการควบคุมการทำกิจกรรมหลัก ๆ ของซอฟต์แวร์ที่สัมพันธ์กันของผู้ใช้งาน ทำให้เกิดความชัดเจนและเกิดความเข้าใจร่วมกัน ร่วมถึงช่วยให้สามารถตรวจสอบขั้นตอนการทำงานได้ดีขึ้น
วิดีโอการสอน


แผนภาพแพ็กเกจ

แผนภาพแพ็กเกจ ถูกนำมาใช้แสดงการจัดเก็บรวบรวมแพ็คเกจ รวมถึงการนำเข้าและใช้งานแพ็คเกจที่ถูกสร้างขึ้นโดยบุคคลอื่น ทำให้เห็นโครงสร้างการจัดเก็บและการเข้าถึง เชื่อมต่อกับระบบที่นำไปใช้ได้ ช่วยให้สามารถนำแพ็กเกจต่าง ๆ มาประกอบเข้ากับระบบที่ต้องการพัฒนาโดยที่ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นใหม่ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : แผนภาพแพ็กเกจ


การนำแบบจำลองไปใช้งาน

การนำแบบจำลองที่ออกแบบมาใช้งาน แสดงให้เห็นและเข้าใจการทำงานของระบบในการนำไปใช้งานกับระบบงานจริง ช่วยในการเตรียมพร้อมและปรับแต่งระบบให้ใช้งานได้ โดยแยกส่วนการทำงานที่ออกแบบที่ต้องจัดเตรียมหรือแบ่งตามหน้าที่การทำงานที่สามารถรองรับการทำงานของซอฟต์แวร์หรือสถาปัตยกรรมการทำงานของระบบ โดยอาจใช้กรอบงานในการพัฒนาที่รองรับภาษาเชิงวัตถุ
วิดีโอการสอน

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

         ไฟล์นำเสนอ .pdf : การนำแบบจำลองไปใช้งาน


การทดสอบและการประเมินคุณภาพ

การทดสอบและการประเมินคุณภาพ ช่วยให้ทราบว่าสิ่งที่ออกแบบสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ และควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้ตรงกับความต้องการที่กำหนดไว้ เป็นการประเมินคุณภาพและรับประกันว่าสามารถนำซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานได้จริง เมื่อทำการทดสอบและได้ผลลัพธ์ที่ดี จะช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้งานได้ระดับหนึ่ง จึงถือว่าการทดสอบที่ดีจะช่วยให้ซอฟต์แวร์หรือระบบที่ออกแบบและพัฒนามีคุณภาพเช่นกัน
วิดีโอการสอน